วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

อาชีพที่สนใจ(วิชาแนะแนว)

⬛◽อาชีพสัตวแพทย์◽⬛

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัตวแพทย์


    ลักษณะการทำงาน
      1.  ตรวจโรคและให้การรักษาโดยใช้ยาหรือผ่าตัดสัตว์ที่เจ็บป่วย บาดเจ็บหรือต้องให้การรักษา
      2.  ตรวจสัตว์ที่เจ็บป่วยเพื่อดูอาการผิดปกติของสัตว์ สั่งยาหรือให้ยาหรือทำการผ่าตัด
      3. ตรวจร่างกายของโคนมหรือสัตว์อื่นๆ เป็นระยะและฉีดยาป้องกันโรค เช่นอหิวาห์ตกโรค   โรคพิษสุนัขบ้า              เป็นต้น
     4.  ค้นหามูลเหตุของโรคระบาดและหาทางป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังสัตว์
     5. ให้บริการด้านสูติศาสตร์  ให้คำแนะนำเจ้าของสัตว์ในด้านสุขศาสตร์ การให้อาหาร  การผสมพันธุ์และการเลี้ยง       ดูทั่วๆไป
     6. ผ่าซากสัตว์เพื่อชันสูตรโรค
     7. อาจเชี่ยวชาญในการรักษาสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น สัตว์เลี้ยง โคนม ม้า สัตว์ปีกหรือหมูหรือเชี่ยวชาญทาง           สัตว์แพทย์ศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง  เช่น ศัลยกรรม หรือรังสีวิทยา เป็นต้น

   คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพ
     1.  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสัตวแพทย์ศาสตร์
     2.   มีนิสัยรักสัตว์และรักที่จะประกอบอาชีพนี้
     3.   มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน4.   มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อดทน เพราะในบางครั้งต้องดูแลสัตว์       ขนาดใหญ่
     5.  ต้องมีความสนใจในวิชาชีววิทยาและสามารถสอบได้คะแนนสูงในวิชานี้
     6.  มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตรวจโรคและให้การรักษาโดยใช้ยาหรือผ่าตัดสัตว์ที่เจ็บป่วย บาดเจ็บ        หรือต้องการรับการรักษา
     7.  มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกตสนใจกระตือรือร้นในการ ทำงาน สนใจ               แสวงหาความรู้ใหม่ๆ 
     8. มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ กล้าตัดสินใจ รับผิดชอบในการทำงาน

   แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ
     ม.4 ต่อสายการเรียน วิทย์-คณิต
     มหาวิทยาลัยและคณะที่ได้รับการรองรับและเปิดสอนมีดังนี้
     1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวืแพทย์ศาสตร์
     3.มหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     4.มหาวิทยาลัยมหิดล  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     6.มหาวิทยาลัยเทโนโลยีมหานคร  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     7.มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     9.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสัตวแพทย์ศาสตร์

  ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ และสวัสดิการ
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา โดยผู้ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
หน่วยงาน 
วุฒิการศึกษา                ราชการ              รัฐวิสาหกิจและเอกชน
ปริญญาตรี                       8,190                     12,000 – 15,000
ปริญญาโท                       9,040                     15,000 – 18,000
ปริญญาเอก                    10,600                     18,000 – 25,000


ปัญหา หรืออุปสรรคที่อาจพบในการประกอบอาชีพ

1) อดตาหลับขับตานอนตั้งแต่เป็นเตรียมแพทย์ 
2) ความใกล้ชิดกับผู้ป่วยและมีโอกาสติดเชื้อ (ถ้าประมาท) 
3) เห็นความตายบ่อยถึงบ่อยมาก อารมณ์ด้านได้ง่าย ๆ 
4) เป็นกระโถนรองรับอารมณ์ของรุ่นพี่เฮงซวย 
5) จะดังได้ต้องมีพี่เลี้ยงดีที่คอยชี้แนะและให้โอกาส 
6) แพทย์ พ.ศ. นี้ ถูกผู้ป่วยฟ้องขึ้นศาลเป็นว่าเล่น 
7) คู่แข่งในสายอาชีพมีมากกว่าอาชีพอื่น ๆ (ที่ทำมาหากินน้อยกว่าอาชีพอื่น) 
8) ชีวิตเร่งรีบเพราะเวลาเป็นเงินเป็นทอง 
9) ลืมดูแลตัวเอง มีแพทย์ไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตเพราะมะเร็ง พาร์กินสัน ฯลฯ 

แนวโน้มความต้องการอาชีพในอนาคต

ความต้องการผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ  เพราะนอกจากจะประกอบธุรกิจส่วนตัวแล้ว สถานประกอบกิจการภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ และผู้ประกอบกิจการด้าน ปศุสัตว์ ล้วนแต่ต้องพึ่งสัตวแพทย์ในการดูแล และตรวจรักษาทั้งสิ้น  ถ้าปีใดเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวลดลงจะมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานในอาชีพนี้บ้าง ปัจจุบัน ประเทศไทยรณรงค์ด้านการสงวนพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ   กระทิง จึงมีสัตวแพทย์ประจำโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าที่พลัดหลง หรือบาดเจ็บ ส่วนผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์นั้นมีเพิ่มขึ้นเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นจะต้องทำให้สินค้ามีคุณภาพและปลอดจากโรค ความต้องการสัตว์แพทย์จึงยังคงมีอยู่และอาจเพิ่มมากขึ้น ถ้าการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น
          อย่างไรก็ตาม มีผู้นิยมเลี้ยงสัตว์ในบ้านเรือนส่วนบุคคลมากขึ้น ความต้องการสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลหรือคลินิก อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกทั้งโอกาสในการประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เพราะผู้เลี้ยงสัตว์มักนำสัตว์เลี้ยงของตนไปคลีนิกมากขึ้น  เนื่องจากต้องการความสะดวกรวดเร็วในการตรวจและรักษา     สัตว์เลี้ยง

คุณค่าของอาชีพต่อการพัฒนาสังคม


ค่าตอบแทนจากการทำงานของสัตวแพทย์ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกก็จะเป็นเงินเดือนตามระดับวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน ซึ่งก็อาจจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ตามระยะเวลาการเข้าเวร เช่น ค่าโอที นอกจากเงินเดือนแล้วถ้าทำงานในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น  ค่ารักษาพยาบาล   เงินสะสม  เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ  เงินโบนัส  เป็นต้น
คุณค่าของอาชีพนี้ก็จะอยู่ที่การที่เราได้รักษาสัตว์ให้หาย เพราะเดี๋ยวนี้คนเราเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว บางคนรักเหมือนลูก เวลาสัตว์เลี้ยงเขาป่วย เขาก็กังวล เป็นทุกข์ เวลาเราทำให้มันหายป่วย เจ้าของก็หมดทุกข์ มีความสุข ตรงนี้แหละคือสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดของการเป็นสัตวแพทย์
นอกจากนี้ ชีวิตของคนทั่วไปหนึ่งวัน ก็เกี่ยวข้องกับสัตวแพทย์มากโดยที่ทุกคนไม่รู้ เพราะอย่างน้อยๆ เนื้อสัตว์ที่กินเข้าไป ทุกอย่างทั้ง หมู ไก่ วัว ไข่ ฯลฯ อยู่ในการดูแลของสัตวแพทย์หมด สัตวแพทย์ที่เขาควบคุมฟาร์มเขาก็เป็นคนที่ต้องควบคุมสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้มันมีมาตรฐานพอที่จะเอามาขายให้คนกินได้ ดังนั้นอาชีพนี้มันมีส่วนสำคัญกับสังคมเยอะ แต่เป็นสิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็น
ส่วนผลเสียที่มีต่อตัวผู้ประกอบอาชีพ ก็คงเหมือนกับแพทย์ทุกสาย คือเรื่องเวลา เวลาเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีนักสำหรับคนที่เป็นแพทย์ ตัวอย่างเช่น บางทีคลินิกปิดสองทุ่ม แต่มีเคสฉุกเฉินมาก็ต้องอยู่ หรือบางครั้งวันหยุด แต่ดันมีเคสฉุกเฉินจำเป็นที่ต้องเข้ามาผ่าตัด ก็ต้องไป มันก็จะเป็นเรื่องของการยอมเสียสละเวลา

० รายชื่อสมาชิก ०

เด็กหญิง ฐิติยาภรณ์  ศรีสุนทร ม.2/2 เลขที่17
เด็กหญิง ฐิติรัตน์  ฐิติเมธาพร  ม.2/2 เลขที่18
เด็กหญิง ธนันท์ชนก  ภูริพงศ์ชนะกิจ  ม.2/2 เลขที่22

เด็กหญิง ศิริลักษณ์  สนจุ้ย ม.2/2 เลขที่36







วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

อารธรรมเอเชีย (วิชาประวัติศาสตร์)

▪️▢อารยธรรมเอเชีย▢▪️
↽อารยธรรมจีน⇁


          ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่งโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรร5000ปีรากฐานที่สำ คัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง 

          อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ
          ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
          ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา 


สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค
          - ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
          - ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
          - ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
         - ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน 

อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้
           ราชวงศ์ชาง ( Shang Dynasty , 1776 – 1,122 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )เป็นราชวงศ์แรกของจีน
           1.มีการปกครองแบบนครรัฐ
           2. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
           3. มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ 
อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า

           ราชวงศ์โจว( Chou Dynasty, 1,122-221 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
           1. แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์
           2. เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
           3. เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
           4. เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
           5. เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
           6. เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
           7. เน้นความสำคัญของการศึกษา
           8. เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
           9. เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
           10. เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
           11. ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
           12. คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน

           ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน( Chin Dynasty , 221-206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
          - จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
          - มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด 


กำแพงเมืองจีน


           ราชวงศ์ฮั่น( Han Dynasty , 206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ค.ศ.220 )
          - เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม( Silk Rood )
          - ลัทธิขงจื้อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
          - มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน 


เส้นทางสายไหม


           ราชวงศ์สุย( Sui Dynasty , ค.ศ.589 – 618 )
          - เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
          - มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม

           ราชวงศ์ถัง( Tang Dynasty , ค.ศ. 618-907 )
          - ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
          - พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
          - เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
          - ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง

           ราชวงศ์ซ้อง( Sung Dynasty , ค.ศ. 960 – 1279 )
          - มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
          - รู้จักการใช้เข็มทิศ
          - รู้จักการใช้ลูกคิด
          - ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
          - รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม

           ราชวงศ์หยวน( Yuan Dynasty , ค.ศ. 1279-1368 )
          - เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
          - ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี

           ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง( Ming Dynasty , ค.ศ. 1368-1644 )
          - วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
          - ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
          - สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)

           ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง( Ching Dynasty ค.ศ. 1644-1912 )
          - เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
          - เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
          - ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก

ศิลปวัฒนธรรมของจีน
          จิตรกรรม
          มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพงานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติสมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า 

          ประติมากรรม
          ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต
          สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความ กล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา
          สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
          สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู

          สถาปัตยกรรม
          กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการ รุกรานของมองโกล
          เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวาง ผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
          พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ 

          วรรณกรรม
          สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน

          อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับวัฒนธรรมจีนโดยตรง

การถ่ายทอดอารยธรรมจีนสู่ดินแดนต่างๆ
          ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีน
          ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป
          ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำอารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาวอาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง


                                 😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑😑

↼อารยธรรมอินเดีย⇁

นการศึกษาอารยธรรมโบราณของอินเดีย สิ่งหนึ่งที่เราพบก็คือความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนว่าอารยธรรมที่สำคัญ ๆ ของโลกนี้จะมีอารยธรรมอินเดียและจีนเท่านั้นที่ยังคงประพฤติ ปฏิบัติกันอยู่เหมือนเช่นพันปีที่ผ่านมา






ในทางตรงข้ามหากเราพิจารณาอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก เราจะพบการเสื่อมสลายขาดความต่อเนื่องของอดีตกับปัจจุบันในอินเดียปัจจุบันเรายังคงเห็นและได้ยินการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ใช้บทสวด ซึ่งเคยใช้กันมานับพันปี เรายังคงเห็นว่าประชาชนของอินเดียเคร่งครัดต่อคติ ค่านิยม หรือกฎเกณฑ์อันเนื่องมาจากการจัดระเบียบทางสังคมหรือระบบวรรณะอย่างไรก็ตามการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณของอินเดียนั้นมิได้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง จนกระทั่งช่วง
หลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านี้เรื่องราวของอินเดียโบราณปรากฏอยู่ในเอกสารของกรีก ซึ่งก็ปรากฏอยู่น้อยมาก ผู้ศึกษาเรื่องราวของอินเดียในยุคแรก ๆ นั้นเป็นพวกมิชชันนารี ซึ่งประสบความสำเร็จในการศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต แต่ก็มิได้ทำให้เข้าใจอดีตของอินเดียอย่างแท้จริง เพราะมิชชันนารีศึกษาเฉพาะสิ่งที่เขากำลังเผชิญหน้าอยู่เท่านั้นการศึกษาเรื่องราวของอินเดียตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งมาถึงต้น ๆ
คริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นส่วนใหญ่จะเป็น การศึกษา ภาษา วรรณกรรม มีการแปลวรรณกรรมสำคัญ ๆของอินเดีย เช่น ภควัตคีตา จึงทำให้ไม่ได้ภาพของอินเดียที่แท้จริง บางกรณีก็ยังเชื่อว่า อารยธรรมอินเดียเริ่มต้น และเกิดขึ้นโดยชาวอารยัน
กระทั่งศตวรรษที่ 20 การขุดค้นทางโบราณคดีอย่างจริงจัง จึงเกิดขึ้น มีการจัดตั้งกองโบราณคดีโดยมี Sir John Marshall เป็นผู้อำนวยการ และหลังจากนั้นการขุดค้นอย่างมีระบบก็เกิดขึ้น ผลงานที่ยิ่งใหญ่ของกองโบราณคดีนี้ก็คือ การค้นพบอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในปี 1924การค้นพบอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์โบราณของอินเดียทำให้เราได้เรียนรู้ภาพของอินเดียที่แท้จริง ทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมของอินเดียชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะพัฒนาการด้านศาสนา ซึ่งยังคงมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
อินเดียเป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก ( ชนชาติในทวีปเอเชีย ) หลายชาติ เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า “แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” ( Indus Civilization ) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด เมื่อประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
(1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน






เมืองโมเฮนโจ ดาโร
(2) เมืองฮารับปา ( Harappa ) ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน







เมืองฮารับปา
2. สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด — อารยัน ( Indo — Aryan )ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา
สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้
                                                อักษร บรามิ ลิปิ






(1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า “บรามิ ลิปิ” ( Brahmi lipi ) เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ ( Gupta ) เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
(2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล ( Mughul ) และเข้าปกครองอินเดีย
(3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1947
 อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
 1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500–1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่ ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ — ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า“ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian )
2. สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500–600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน ( Indo-Aryan ) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้นเมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
3. สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600–300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
4. สมัยจักรวรรดิเมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 321–184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย
สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
5. สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช — ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana ) เป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์
นอกจากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
6. สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ ค.ศ.320–550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
7. สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550–1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
8. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206–1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
9. สมัยจักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) ประมาณ ค.ศ. 1526–1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ.1858 กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง
อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
  • เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
  • เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
  • สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
  • ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว
  • ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย
  • ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
                                                   เมืองฮารับปา


                                           
                                         à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ เมืองฮารัปปา

                                                                       สุสานทัชมาฮาล

                                           à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ สุสานทัชมาฮาล

                                   
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
  • เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน
  • ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮนโจดาโร และเมืองฮารับปา
  • สมัยพระเวท
  • เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้
  • ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และ ระบบวรรณะ 4
  • วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
  • คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆกันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และ อาถรรพเวท
  • มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน(พระราม) กับชาวทราวิฑ (ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ
  • มหากาพย์มหาภารตยุทธ ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ)
  • คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม
ตรีมูระติ เทพเจ้าของอินเดีย





  • สมัยพุทธกาล
  • เกิดศาสนาพุทธ และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ)
  • เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ วรรธมาน มหาวีระ
  • สมัยราชวงศ์เมารยะ
  • พระเจ้าจันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น
  • เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง
  • พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ
  • หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
  • สมัยราชวงศ์กุษาณะ
  • พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
  • ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
  • ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
  • สมัยราชวงศ์คุปตะ
  • พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
  • เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง ปรัชญา ศาสนา
  • สมัยจักรวรรดิโมกุล
  • พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม
  • เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
  • พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติพระเจ้าซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง
  • สมัยอาณานิคมอังกฤษ
  • ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
  • เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย
  • ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
  • สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ  รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา การศาล การศึกษา ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)
  • สมัยเอกราช
  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ
  • หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
  • แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถานตะวันตก)และบังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)






อีกมุมมองหนึ่งของสุสานทัชมาฮาล
ศิลปกรรมอินเดีย มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
  • ด้านสถาปัตยกรรม
  • ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
  • ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
  • สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
  • ด้านประติมากรรม เกี่ยวข้องกับศาสนา
  • พระพุทธรูปแบบคันธาระ
  • พระพุทธรูปแบบมถุรา
  • พระพุทธรูปแบบอมราวดี
  • ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
  • จิตรกรรม
  • สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
  • นาฏศิลป์
  • เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท
  • สังคีตศิลป์
  • ทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และกลอง
พระพุทธรูปแบบอมราวดี






                                             พระพุทธรูปแบบคันธาระ







                                              พระพุทธรูปแบบมถุรา






การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย แพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชีย โดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหาร และได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญ และในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
ภูมิภาคเอเชียกลาง อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อสร้างศาสนสถาน
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้







                                         ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ

๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏๏



↽อารยธรรมเมโสโปเตเมีย⇁

                    เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย
                    เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลาย ในฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์เมเนีย น้ำจะพัดพา เอาโคลนตม ตะกอนมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำในแม่น้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งก็สร้างความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
                    ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์

ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
                    เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ คำว่าเมโสโป-เตเมีย เป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสอง คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์เมเนียและเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
                    บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์เมเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
                    อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
                    เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซียมีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชนชาติใดมีอำนาจ ก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. ความคิดสร้างสรรค์ในการรักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
        1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
        1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
        1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
        1.4 คัสไซท์ (Kassites)
        1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
        1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอก แม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน

วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
พัฒนาการวัฒนธรรมสุเมเรียน 2 ระยะ คือ
1.ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250-3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรมคนเมือง (Urban life)
2.ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C.
        – การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียวส่วนใหญ่ใช้ต้นกกหรือไม้เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวกดเป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกชื่อว่า คูนิฟอร์มแล้วนำไปผึ่งแดด                 หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง
 
        – การสร้างผลงานสถาปัตยกรรมเรียกว่า ซิกกูแรท” เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิรามิดสร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบนทำเป็นวิหาร ใช้บูชาเทพเจ้า
 
        – มีการใช้อิฐในก่อสร้างและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานการก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6                     ชั่วโมง การนับในหน่วย 60 ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60 หกครั้ง)
        – ประมวลกฏหมายฮัมบูราบีเป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด                     ประมวลกฎหมายนี้ถูกคัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902                 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้น และได้รับการบูรณะ
        – มหากาพย์กิลกาเมชเป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน (นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อ                ว่าจารึกแท่งที่ 12 นี้ถูกแต่งเพิ่มขึ้นในภายหลัง) ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย                             เมื่อราว ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
        – สวนลอยแห่งบาบิโลนตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่9 ก่อนคริสตกาล โดยคำบัญชาของกษัตริย์เนบูคัสเนซซาร์เพื่อเป็นของขวัญแก่                        นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์
                    สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ นักประวัติศาสตร์จากซิซิลีที่ชื่อดิโอโดโรส” กล่าวว่า ชาวบาบิโลนใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสมน้ำมันดิบปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่เตรียมไว้ ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรติสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่างมิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย

                            😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶😶

↽อารยธรรมเติร์กเมนิสถาน⇁



เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะที่บริเวณรอบทะเลสาบ

แคสเปียนนั้น อุดมไปด้วยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัฐบาลเติร์กเมนิสถาน ได้มีความพยายามที่

จะสร้างท่อส่งก๊าซไปยังตุรกี แต่บริษัทของอเมริกาไม่พอใจ เพราะต้องผ่านอิหร่านก่อน 

วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

        นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวเติร์กเมนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย 

ในสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง เป็นชนชาติที่ไม่ชอบความรุนแรง และยังคงยึดถือธรรมเนียม

ประเพณีดั้งเดิม ซึ่งเป็นลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม 

การแต่งกาย

        ชาวเติร์กเมนยังคงรักษาการแต่งกายตั้งเดิมเอาไว้คือ ผุ้ชายสวมกางเกงขายาวหลวมๆ

 สีน้ำเงิน สวมร้องเท้าบูททับขากางเกง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ทับด้วยเสื้อคลุมไหมสีแดงมีแถบสีทอง 

สวมหมวกขนสัตว์ ชุดผู้หญิงเป็นกระโปรงยาวคลุมข้อเท้าสีแดง ประดับด้วยแผ่นเงิน หรือโลหะสวม

กางเกงขายาวด้านใน ผูกผมไว้ด้านหลัง และคลุมศีรษะด้วยผ้า 

อาหาร 


                                                                                   


                                                            Manti  


                                 

                                                              Chorek      

อาหารพื้นเมืองที่น่าสนใจของชาวเติร์ก คือ Manti เป็นแป้งสอดใส่ด้วยเนื้อบดผสมหัวหอมและ

ฟักทอง แล้วนำไปนึ่ง ส่วนขนมปังที่บริโภคกันอย่างแพร่หลาย คือ Chorek ซึ่งเป็น ขนมปังอบใน

โอ่ง (อบโดยแปะไว้ในโอ่ง ที่เป็นเตา) ส่วนเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อ คือ นมอูฐหมัก หรือ Chal โดยจะมีรส

ชาติ ออกเปรี้ยว ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้นอกจากเป็นที่นิยมของชาวเติร์กแล้ว ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาว

คาซัคด้วยเช่นกันนอกจากนั้น ชาวเติร์กนิยมดื่มชาเขียว และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เช่น วอดก้า

เนื่องจากหาได้ทั่วไปและมีราคาถูก

ที่อยู่อาศัย

        ชาวเติร์กเมนใช้ชีวิตเรียบง่านในกระโจมที่ทำด้วยโครงไม้ คลุมด้วยต้นกก ต้นอ้อ และสักหลาด

 โดยมีพรมเพียงไม่กี่ผืนเป็นเฟอร์นิเจอร์ พรมนอกจากใช้งานเพื่อปูพื้นแล้ว ยังนำมาประดับตกแต่

แขวนไว้ตามผนัง โดยพรมนับเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของเติร์กเมนิสถาน ปัจจุบันการผลิตพรมโดย

มาก มักผลิตเพื่อการค้า 

ศิลปกรรม

        ลักษณะงานศิลปกรรมมีทั้งที่เป็นศิลปกรรมในศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ สถาปัตยกรรม

อิสลามเน้นที่มีซุ่มประตูสูงใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยม เจาะช่องทางเข้าเป็นซุ่มโค้งปลายแหลมขึ้น ประดับตก

แต่ง ด้วยกระเบื้องสี หรือเขียนลวดลายด้วยสี สถาปัตยกรรมในสาสนาคริสต์เป็นอาคารสูงเพรียว มี

ยอดแหลมสูง อาจมีหลายยอด ตกแต่งอย่างสวยงามในรายละเอียดต่างๆ
เทศกาล และประเพณี

        ส่วนมากเป็นเทศกาลทางศาสนาอิสลามเช่น เทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลรอม

ฎอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีท้องถิ่นคือ ในเดือนเมษายน มีการฉลองม้า Akilteken          มีขบวนพาเหรด และการแข่งม้า ในอาทิตย์ที่ 
2 ของเดือนสิงหาคม เป็นวัน Bakshi เป็นเทศกาลของเพลงพื้นเมือง และอาทิตย์สุดท้ายของเดือน

ธันวาคม เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยว

 การแต่งกาย 

ผู้ชายสวมชุดสูทที่เรียบง่ายหรือเสื้อแจ็คเก็ต และเนคไทก็เหมาะสมดีแล้ว แต่ในการประชุมพบ

ปะกับหน่วยงานราชการ อาจเลือกชุดสูทที่เป็นทางการขึ้น

สำหรับผู้หญิงสวมชุดสูท กระโปรงชุด หรือเสื้อกับกระโปรงก็เหมาะสม

                           🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪🍪

↽อารยธรรมไทย⇀


ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก 
(State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐  และ
เคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Com
mittee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘  ครั้งที่สอง 
ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ – ๒๕๔๖  และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ 
– ๒๕๕๖
    ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้


แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง

     1 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศ
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการ
ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕   เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  ที่เมือง
คาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
    อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัด
สุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก 
มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนว
เทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพัน
ไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

    

    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะ
ห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ   ๖๐   กิโลเมตร ตั้งอยู่บน
ที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำ
น้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

    

    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพ
เพชร มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร 
อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูวางแนว
ยาวขนานกับลำน้ำปิง มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

    

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
    ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอย
หลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยใน
ความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็น
รัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานาน
ประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมือง
บริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียน
ไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดดเด่น

มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

    อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบันได้รับการ
อนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ มีลักษณะ
การใช้พื้นที่ทั้งส่วนที่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการดูแลโดยกรมศิลปากร และพื้นที่ข้าง
เคียงซึ่งที่อยู่อาศัยของชุมชนท้องถิ่น โดยกำหนดและจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่าง
ชัดเจน รวมทั้งควบคุมสิ่งก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยคณะกรรมการพิจารณา
การอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตโบราณสถาน ร่วมกันพิจารณา
เพื่อนำเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมศิลปากรผู้อำนาจในการอนุญาต ปัจจุบันชุมชนที่ตั้งอยู่
ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เริ่มขยายตัวพร้อมๆ กับการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับแนวทาง

ของเมืองประวัติศาสตร์และเป็นเมืองมรดกโลก เช่น การสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ 
ขึ้นภายในเขตเมืองเก่า ตลอดจนบดบังทัศนียภาพ หรือสภาพภูมิทัศน์ ทำให้ขาดความ
สง่างามและคุณค่าของโบราณสถาน รวมทั้งการขาดหน่วยงานที่ต้องดำเนินการ ด้าน
อนุรักษ์การอย่างพอเพียง ดังนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ตระหนักใน
คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และช่วยกันดูแลรักษาให้เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าตกทอดไป
สู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

    2 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก
จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวัน
ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอ
พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง
ของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๗๖ กิโลเมตรตัวเกาะเมือง
ซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ  ๓ สายคือ  
แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ   แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก   และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศ
ตะวันตกและทิศใต้   ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้น
ฐานของการตั้งถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้
กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชีย
และของโลกระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓


พระราชวังโบราณ

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดมหาธาตุ

วัดราชบูรณะ

วัดพระราม

วิหารพระมงคลบพิตร

พระราชวังจันทรเกษม

วัดสุวรรณดาราราม

วัดพนัญเชิง

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดไชยวัฒนาราม

วัดวรเชษฐาราม

วัดภูเขาทอง

วัดหน้าพระเมรุ

เพนียดคล้องช้าง

วัดพุทไธศวรรย์

ปราสาทนครหลวง


คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก

    นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญ

รุ่งเรืองของศิลป-วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่   งดงาม   และทรงคุณค่า  สะท้อนให้รำลึกถึงภาพ
ความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวังวัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย
ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต นครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดง
ถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสาม
สายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบรูณ์  พร้อม
ไปกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก นอกจากนั้นผลงานด้าน
สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยาน
แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชนหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ในช่วงเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ อีกด้วยหลักฐานแห่งอารยธรรมของ
ชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้
ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ในประพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่
๓ ดังนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ใน
ปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

มรดกโลกอยุธยา ในปัจจุบัน

    ปัจจุบันนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากำลังมีกาารขยายตัวทางกายภาพอย่าง

มาก โดยมีการขยายเมือง เพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การสร้างอาคารที่บดบัง
ทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นการทำลายคุณค่าของโบราณสถาน ตลอดจนการพัฒนาของ
ถนนหนทางภายในเขตเมือง เพื่อรองรับการคมนาคมที่นักท่องเที่ยวต่างมาเยี่ยมชม
อุทยานประวัติ-ศาสตร์ ทำให้เขตพัฒนาเป็นไปอย่างไร้ทิศทางของการอนุรักษ์มรดกทาง
วัฒนธรรม เช่น การสร้างเสาไฟรูปนางหงส์ ที่กระจายอยู่โดยทั่วของใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา ปัญหาของขยะมูลฝอย การสร้างบ้านพัก ที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร อยู่
โดยรอบโบราณสถาน และการถมคูคลองต่าง ๆ เป็นต้น

    ดังนั้นหากอุทยานประวัติศาสตร์นครศรีอยุธยาไม่ได้รับการเอาในใส่ดูแลจากหน่วยงาน

ต่าง ๆ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ต้องมีความเข้าใจในการพัฒนาเมืองที่เป็นเมืองเก่า ที่มีความ
สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความ
เสียหาย และทำลายคุณค่าของความเป็นเมืองเก่าที่ได้รับการยอมรับเป็นเมืองมรดกโลก
 ก็อาจจะทำให้เมืองเก่าแห่งนี้ถูกลดถอยความสำคัญในอนาคตได้

    3 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง 
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุม
คณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน
จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า 
๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มี
พัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็น
เครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของ
มนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน  วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึง
แหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์
อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชา
ชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก



    ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีจากบ้านเชียงที่มีอยู่ แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรม
บ้านเชียงเริ่มต้นขึ้นเมื่อราว ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว และมีความต่อเนื่องมาจนถึงราว ๑,๘๐๐
ปีมาแล้ว ในช่วงระยะเวลายาวนานนับพันๆ ปีของวัฒนธรรมบ้านเชียงได้มีการเปลี่ยนแปลง
ด้านต่าง ๆ ตลอดเวลา ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นทั้งในด้านพฤติกรรมและวัตถุเนื่องใน
วัฒนธรรมซึ่งได้แก่ ประเพณีการฝังศพ และภาชนะดินเผา



คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นปรากฎการณ์สำคัญ
ของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี ที่มีความเจริญรุ่ง
เรืองสืบทอดยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี ในช่วงเวลาระหว่าง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชถึง
คริสตศักราช ๒๐๐ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในทะเบียนบัญชี
รายชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด้วย
คุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้

   
 “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
หรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”


มรดกโลก บ้านเชียง ในปัจจุบัน

     ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้สร้างความเปลี่ยนแปลง
หลายสิ่งหลายอย่างแก่ชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้
จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลก ด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวน
หาศาลได้รับการวิเคราะห์แปลความ  โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการ

     แต่อย่างไรก็ตามแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้ถูกลักลอบขุดค้น และซื้อขายในตลาด
มืดกันอย่างมากมาย โดยทางราชการก็ได้ใช้มาตรการทางกฏหมาย เช่น พระราชบัญญัติ
โบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พุทธ-ศักราช ๒๕๓๕
รวมถึงประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๘๙ที่ห้ามการขุดค้นในพื้นที่บ้านเชียงและบริเวณโดย
รอบ ปัจจุบันชุมชนบ้านเชียง ได้มีขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างบ้าน
เรือนที่อยู่อาศัย จึงต้องเร่งกำหนดขอบพื้นที่ที่ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อรักษาแหล่ง
โบราณคดีบ้านเชียง มิให้ถูกทำลายหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ดังนั้นการ
สร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ และภาคเอก
ชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญแห่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดต่อ
อนุชนรุ่นหลังต่อไป


คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก     แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น 
เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ 
ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า
พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้ว
เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๓แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก ๓ แหล่งสู่ที่
ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตวป่า
ทุ่งใหญ่ -ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่าเขตรักษาพันธุ์สัตวป่า
ทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุท
ยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง ๒ แห่งนั้นเล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่ไม่แน่นอนและไม่เพียง
พอ



    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่
อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว ๑๕,๐๐๐ ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบ
ในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง ๒,๕๐๐ ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง ๑๖ ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า ๘๐๐
ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๑๒ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า ๒๐๙ ชนิด
นกกว่า ๓๙๒ ชนิด และเงือก ๔ ชนิด ใน ๖ ชนิดที่พบในประเทศไทย

                      🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽🐽

                               
อารยธรรมอิสลาม

อารยธรรมอิสลาม เป็น อารยธรรมที่เป็นผลมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม   อารยธรรม
อิสลามมีแหล่งกำเนิดในคาบสมุทรอาระเบีย ต่อมาได้ถูกเผยแผ่ไปยังภูมิภาคอื่นๆของ
ทวีปเอเชีย   แอฟริกา  และยุโรป ผ่านการค้า การสงคราม และการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม
โดยพวกนักสอนศาสนาที่เดินทางไปยังดินแดนต่างๆอารยธรรมอิสลามที่สำคัญ เช่น 
สถาปัตยกรรม จิตรกรรม วิทยาการความรู้แขนงต่างๆ  ทั้งคณิตศาสตร์    แพทย์ศาสตร์ 
ภูมิศาสตร์อักษรศาสตร์ ปรัชญา เป็นต้น


                                   images (8)

จุดเด่นของอารยธรรมอิสลามมีดังต่อไปนี้
   
1. อารยธรรมด้านการศรัทธา  คือการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ต่อคัมภีร์ของพระองค์ ต่อศาสน
ทูตของพระองค์อารยธรรมอิสลาม  เมื่อนำเอาการศรัทธามาเป็นพื้นฐานหลัก  แน่นอน
ย่อมมีเป้าหมายในคุ้มครองดูแลสถานภาพของตัวเอง ด้วยกำแพงแห่งความเที่ยงธรรมใน
ด้านจิตวิญญาณ  โดยเฉพาจรรยาบรรณอันทรงเกียรตินั้นถือได้ว่าเป็นสารัฐถะหรือแก่แท้
ของศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะจะไม่มีผลดีใด ๆ ในวิทยาการที่ไร้ซึ่งจรรยา 
ซึ่งทุกศาสนาที่มาจากอัลลอฮ์นั้น  ย่อมมีความสอดคล้องกันในการใช้ให้ปฏิบัติคุณงาม
ความดีหลีกหนีจากกระทำความชั่ว  การศรัทธาในอิสลามนั้น  ไม่ได้ขัดกับสติปัญญา 
เพราะอิสลามได้ดำเนินอยู่บพื้นฐานของการใช้สติปัญญาในเรื่องศรัทธาไปจนกระทั่งการ
ศรัทธานั้นเด็ดเดี่ยวมั่นคง ถึงแม้ว่าอารยธรรมอิสลามจะเน้นเรื่องการศรัทธา  แต่มันมิได้ยกเลิก  
หรือละเลย ในเรื่องของวัตถุ  แถมยังให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่เนื่องจากมันเป็นสิ่งสำคัญ
ในการสร้างความเจริญ
                                                   
                                   images


  2. อารยธรรมด้านความเจริญก้าวหน้า  ไม่มีการชะงักงันและไม่ล้าหลัง อิสลามได้ให้กำเนิด
อารยธรรมนี้ขึ้นมา  และได้เจริญเติบโตขึ้น  ด้วยการต่อต้านสิ่งอธรรม  การเอารัดเอาเปรียบ  
การชะงักงัน  ความล้าหลัง อิสลามมิได้ห้ามมุสลิมนำเอาสิ่งใหม่ ๆ หากสิ่งนั้นไม่ขัดต่อศาสนา 
รูปแบบ จริยธรรมของอิสลาม คำกล่าวอ้างของผู้ที่ต้องการทำลายอิสลามที่กล่าวว่าการศรัทธา
นั้นขัดต่อเป้าหมายความยุติธรรมของสังคม  คำอ้าง ดังกล่าวนั้นมันไม่เป็นความจริง  แท้จริงรูป
แบบความยุติธรรมของสังคมจะไม่สมบูรณ์ อกจากจะอยู่ภายใต้ร่มเงาของการศรัทธาเท่านั้น  
อันศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้านั้น  ทุกศาสนาเรียกร้องไปสู่การเห็นอกเห็นใจกัน  
คนมั่งมีจะต้องจุนเจือคนขัดสนหรือ คนยากจนอนาถา  ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงบัญญัติการจ่ายซากาต
เหนือมุสลิมที่มีความสามารถ
                                                     
                                    download (1)       

 3. อารยธรรมที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นและเปิดกว้าง  กล่าวคืออารยธรรมอิสลามมิได้ปิดตัวเอง
ทว่าเป็นอารยธรรมที่ยืดหยุ่น มีทั้งการให้และการรับ  อารยธรรมอิสลามได้ให้เกียรติต่อมรดก
ของกลุ่มกราบไหว้รูปปั้น ในวิชาและศิลปะแขนงต่างๆ และไม่ได้ยึดติดอยู่กับมรดกเหล่านั้น
เพียงแต่วัตถุเหมือนกับการกระทำของบาทหลวงของคริสในช่วงแรกของสมัยกลาง 
อารยธรรมอิสลามเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่มีอยู่ใมรดกของอารยธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 
อารยธรรมของกรีก เปอร์เซีย  อินเดียและอารยธรรมอื่น ๆ ในขณะเดียวกัอารยธรรมอิสลาม
มีจุดยืนที่ประนีประนอมต่อ อารยธรรมของยิว และคริสเตียน


                                         à¸”าวน์โหลด       

 4. อารยธรรมที่รักสันติ  ภายใต้ร่มเงาของสันติภาพนั้น เกิดการก่อสร้าง  การประดิษฐ์ 
และการบูรณะ และภายใต้สันติภาพเช่นกัน มนุษย์รู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และ
ครอบครัว  ซึ่งเป็นผลที่นำไปสู่การงาน  การผลิตอย่างมั่นคง   อิสลามจะทักทายกันด้วยสัน
ติภาพ  แท้จริงนักวิจัยได้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ประเทศและภูมิภาคใดก็ตามได้ปกครอง
โดยอิสลาม และได้เติบโตภายใต้อารยธรรมอิสลาม ชีวิตของราษฎรในประเทศหรือภูมิภาค
เหล่านั้น  จะอยู่อย่างเรียบง่าย ปลอดภัย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของ
พวกเขา กระทั่ง นักบูรพาคดีบางคนได้ให้ความสมญานามว่า สันติภาพคืออิสลาม  
ถึงแม้ว่าอิสลามจะมีความยึดมั่นกับวิญญาณแห่งสันติภาพ  แต่ก็มิได้ขัดต่อการรักษาไว้ซึ่ง
ผลประโยชน์ของมุสลีมีน  

                                  images (1)         

 หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม

 หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม

download (2)หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ที่สำคัญได้แก่
1. หลักศรัทธา 6 ประการ คำว่าศรัทธาสำหรับชาวมุสลิม หมายถึง ความเชื่อมั่นด้วยจิตใจ
โดยปราศจากการระแวงสงสัยหรือการโต้แย้งใดๆ หลักศรัทธาในศาสนาอิสลามมี 6 ประการ
 คือ
1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ชาวมุสลิมต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียว
2) ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮฺ ว่ามีจริง คำว่า “มลาอีกะฮฺ” หมายถึง ทูตสวรรค์หรือเทวทูตขอพระเจ้า เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับศาสดา เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้
3) ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน 
4) ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงศาสนทูตว่ามีทั้งหมด 25 ท่าน ท่าน
แรก คือ นบีอาดัม และท่านสุดท้ายคือ นบีมุฮัมมัด
5) ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมต้องเชื่อว่าโลกนี้ไม่จีรัง ต้องมีวันแตกสลายหรือมีวันสิ้นโลก
6) ศรัทธาในกฎสภาวะ (ลิขิต) ของพระเจ้า ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงกำหนดกฎอัน
แน่นอนไว้ 2ประเภท คือ กฎที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของ
พระเจ้า เช่น การถกำเนิดชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ฯลฯ และกฎที่ไม่ตายตัว เป็นกฎที่ดำเนิน
ไปตามเหตุผล เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วซึ่งพระเจ้าได้ประทานแนวทางชีวิตที่ดีงามพร้อมกับ
สติปัญญาของมนุษย์ ดังนั้นมุสลิมทุกคนต้องพยายามทำให้ดีที่สุด
2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ หลักปฏิบัติ คือ พิธีกรรมเพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ 
ซึ่งชาวมุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้ง 3 ทาง คือ กาย วาจา และใจ อันถือเป็นความภักดี
ตลอดชีวิต หลักปฏิบัติ ประการ มีดังนี้
1) การปฏิญาณตน ชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิญาณตนยอมรับความเป็นพระเจ้าองค์เดียวของ
พระอัลลอฮ์และยอมรับในความเป็นศาสนทูตของท่านนบีมุฮัมมัด
2) การละหมาด การทำละหมาด หมายถึงการนมัสการพระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจวันละ 5 
ครั้ง ได้แก่ เวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาพลบค่ำ และเวลากลางคืน
การทำละหมาดเริ่มเมื่ออายุได้10 ขวบ จนถึงขั้นสิ้นชีวิต ยกเว้นหญิงขณะมีรอบเดือน
3) การถือศีลอด คือการละเว้น ยับยั้งและควบคุมตน โดยงดการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และร่วม
ประเวณี ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา 1 เดือน ในเดือนรอมฎอน 
(เดือน 9 ทางจันทรคติของอิสลาม) การถือศีลอดเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่อายุครบ 
15 ปี เป็นต้นไป แต่ผ่อนผันในกรณีหญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด บุคคลในระหว่างเดิน
ทาง หญิงมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน บุคคลที่มีสุขภาพไม่ปกติ มีโรคภัย คนชรา และบุคคลที่ทำงาน
หนัก
4) การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทรัพย์เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้บริจาคให้สะอาด
บริสุทธิ์ลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
5) การประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือจาริกแสวงบุญ ณ 
วิหารอัลกะฮ์ และสถานที่ต่างๆ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในช่วงเวลาที่กำหนด 
โดยให้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้น

                             ☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻☻
↽อารยธรรมอมอไรต์⇁
                      
ชาวอมอไรท์หรือชาวบาบิโลเนีย  ประมาณปี 2000 ก่อนคริสตกาล อมอไรท์เป็นเซมิติค
 เร่ร่อนจากซีเรียเข้ารุกรานดินแดนตะวันตกของอัคคัต ภายใต้การนำของฮัมมูราบี
 (Hummurabi 1792-1750 B.C.) กษัตริย์องค์ที่ 6 ของอมอไรท์ ได้รวมดินแดนซูเมอร์-อัคคัต
 เข้าด้วยกัน ก่อตั้งจักรวรรดิบาลิโลเนียครั้งที่หนึ่งขึ้น (The First Babylonian Empire) ที่เมือง 
บาบิโลน (Badylon) บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรตีส เป็นเมืองหลวงสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี คือ ยุค
ทองของจักรวรรดิบาบิโลนบาบิโลนเข้มแข็งขึ้นตามลำดับจนได้เป็นนครใหญ่ของอาณาจักร
เมโสโปเตเมียทั้งหมด ต่อมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่าจักรวรรดิบาบิโลเนีย พวกบาบิโลน
สามารถเอาชนะบรรดาเพื่อนบ้านคือพวกอัคคาเดียนและสุเมเรียนได้พระเจ้าฮัมมูราบี
ทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถรวบรวมดินแดนแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรตีส เข้าไว้ในอำนาจแต่
เพียงผู้เดียว และสถาปนารัฐบาลที่เข้มแข็งขึ้นปกครองบาบิโลนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียง
เมืองเล็กๆ ที่ไม่มีความหมายนักกลายเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์ราชบันฑิตเป็นจักรวรรดิ
บาบิโลเนียแรก 
                                           
                                                       พระเจ้าฮัมมูราบี

               ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี
การร่างประมวลกฎหมาย (Hammurabi Code)  พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นที่รู้จักในฐานะเป็น
 ผู้สร้างประมวลกฎหมายเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และจริยธรรมแห่งชีวิต ทรงกล่าว
ถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลกฎหมายว่า “เพื่อผดุงความยุติธรรมให้คงอยู่ในแผ่น
ดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันคนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า...และเพื่อพัฒน
สวัสดิการสำหรับประชาชนประมวลกฎหมายนี้จารึกอยู่บนแผ่นดินไดโดไรท์สีดำ ขนาด
สูง ฟุต จารึกด้วยอักษร Cuniform ประมวลกฎหมายนี้ประดิษฐ์ไว้ในวิหารของเทพมาร์
คุด (marduk) ซึ่งเป็นเทพสูงสุดของบาบิโลน ต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ 
ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น ชิ้น และได้รับ
การบูรณะ ตอนบนของแผ่นหินมีรูปแกะสลักภาพเทพเจ้ากำลังประทาน ประมวลกฎหมาย
ให้แก่ ฮัมมูราบี ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส แผ่นหิน
นี้นับเป็นโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งในทางประวัติศาสตร์ เพราะข้อความในประมวลกฎหมาย
สะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคม Babylonia ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี ทำให้เราทราบว่า
 Babylonia ประกอบขึ้นด้วยคนชั้น

                                          
                                    กฎหมายฮัมมูราบี
กฎหมายของฮัมมูราบี
1.                    คล้ายกฎหมายของพวกสุเมเรียน คือ อาศัยหลัก Lex talionis คือ ใช้ลัทธิสนอง
ตอบ คือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน (An eye for an eye , a tooth for a tooth)
2.                    มีความเปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายของพวกสุเมเรียน คือ การให้ความ
ยุติธรรมนั้นต้องเป็นหน้าที่ของรัฐ (การให้ความยุติธรรมในสมัยแรกเริ่มนั้นเป็นหน้าที่
ของบุคคล)
3.                    ให้สิทธิแก่สตรี สตรีมีสิทธิฟ้องสามีได้
4.                    การค้าขายจะต้องได้พระบรมราชานุญาต จำกัดกำไรให้เพียง 20%
5.                    กำหนดเวลาการตกเป็นทาสหนี้สินเพียง ปี
ทั้งนี้เป็นเพราะนอกจากจะทรงสามารถในการรบและการปกครองเป็นผลให้
 จักรวรรดิขยายกว้างใหญ่ไพศาล ฮัมมูราบีปรับปรุงอารยธรรมสุเมเรียนให้ดีขึ้น และใน
ที่สุดจักรวรรดิ บาบิโลนก็ได้เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับภายหลังการสิ้นพระชนม์ของฮัมมู
ราบีเพราะ
1.กษัตริย์ผู้สืบทอดต่อมาไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ เป็นผลให้กลุ่มชน
ภายใต้ การปกครองของอะมอไรท์ดำเนินการแยกตนเป็นอิสระ
2.ประมาณปี 1590 ก่อนคริสตกาล ฮิตไตท์ชนชาตินักรบจากเอเซียไมเนอร์ เข้ารุกรานมุ่ง
ยึด กรุงบาบิโลนแต่ไม่สำเร็จ
3. การก่อกวนของเฮอเรีย (Hurrians) แห่งอาณาจักรมิทานมิ (Mitanni) อาณาจักรนี้ตั้งอยู่
 ทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส
4.  งบประมาณปลายศตวรรษที่ 16 ก่อนคริตกาล คัสไซส์ (Kassites) อนารยชน
จากเทือกเขา ใกล้ดินแดนเปอร์เซียตะวันตกเข้ารุกรานและโค่นอำนาจอะมอไรท์ได้สำเร็จ

                                           😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃


รายชื่อผู้จัดทำ

ด.ญ.ฐิติยาภรณ์ ศรีสุนทร ม.2/2 เลขที่17
ด.ญ.ฐิติรัตน์ ฐิติเมธาพร ม.2/2 เลขที่ 18
ด.ญ.ธนีนท์ชนก ภูริพงศ์ชนะกิจ ม.2/2 เลขที่ 22
ด.ญ.ศิริลักษณ์ สนจุ้ย ม.2/2 เลขที่ 36