วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

อาชีพที่สนใจ(วิชาแนะแนว)

⬛◽อาชีพสัตวแพทย์◽⬛

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัตวแพทย์


    ลักษณะการทำงาน
      1.  ตรวจโรคและให้การรักษาโดยใช้ยาหรือผ่าตัดสัตว์ที่เจ็บป่วย บาดเจ็บหรือต้องให้การรักษา
      2.  ตรวจสัตว์ที่เจ็บป่วยเพื่อดูอาการผิดปกติของสัตว์ สั่งยาหรือให้ยาหรือทำการผ่าตัด
      3. ตรวจร่างกายของโคนมหรือสัตว์อื่นๆ เป็นระยะและฉีดยาป้องกันโรค เช่นอหิวาห์ตกโรค   โรคพิษสุนัขบ้า              เป็นต้น
     4.  ค้นหามูลเหตุของโรคระบาดและหาทางป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังสัตว์
     5. ให้บริการด้านสูติศาสตร์  ให้คำแนะนำเจ้าของสัตว์ในด้านสุขศาสตร์ การให้อาหาร  การผสมพันธุ์และการเลี้ยง       ดูทั่วๆไป
     6. ผ่าซากสัตว์เพื่อชันสูตรโรค
     7. อาจเชี่ยวชาญในการรักษาสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น สัตว์เลี้ยง โคนม ม้า สัตว์ปีกหรือหมูหรือเชี่ยวชาญทาง           สัตว์แพทย์ศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง  เช่น ศัลยกรรม หรือรังสีวิทยา เป็นต้น

   คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพ
     1.  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสัตวแพทย์ศาสตร์
     2.   มีนิสัยรักสัตว์และรักที่จะประกอบอาชีพนี้
     3.   มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน4.   มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อดทน เพราะในบางครั้งต้องดูแลสัตว์       ขนาดใหญ่
     5.  ต้องมีความสนใจในวิชาชีววิทยาและสามารถสอบได้คะแนนสูงในวิชานี้
     6.  มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตรวจโรคและให้การรักษาโดยใช้ยาหรือผ่าตัดสัตว์ที่เจ็บป่วย บาดเจ็บ        หรือต้องการรับการรักษา
     7.  มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกตสนใจกระตือรือร้นในการ ทำงาน สนใจ               แสวงหาความรู้ใหม่ๆ 
     8. มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ กล้าตัดสินใจ รับผิดชอบในการทำงาน

   แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ
     ม.4 ต่อสายการเรียน วิทย์-คณิต
     มหาวิทยาลัยและคณะที่ได้รับการรองรับและเปิดสอนมีดังนี้
     1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวืแพทย์ศาสตร์
     3.มหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     4.มหาวิทยาลัยมหิดล  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     6.มหาวิทยาลัยเทโนโลยีมหานคร  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     7.มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
     9.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสัตวแพทย์ศาสตร์

  ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ และสวัสดิการ
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา โดยผู้ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
หน่วยงาน 
วุฒิการศึกษา                ราชการ              รัฐวิสาหกิจและเอกชน
ปริญญาตรี                       8,190                     12,000 – 15,000
ปริญญาโท                       9,040                     15,000 – 18,000
ปริญญาเอก                    10,600                     18,000 – 25,000


ปัญหา หรืออุปสรรคที่อาจพบในการประกอบอาชีพ

1) อดตาหลับขับตานอนตั้งแต่เป็นเตรียมแพทย์ 
2) ความใกล้ชิดกับผู้ป่วยและมีโอกาสติดเชื้อ (ถ้าประมาท) 
3) เห็นความตายบ่อยถึงบ่อยมาก อารมณ์ด้านได้ง่าย ๆ 
4) เป็นกระโถนรองรับอารมณ์ของรุ่นพี่เฮงซวย 
5) จะดังได้ต้องมีพี่เลี้ยงดีที่คอยชี้แนะและให้โอกาส 
6) แพทย์ พ.ศ. นี้ ถูกผู้ป่วยฟ้องขึ้นศาลเป็นว่าเล่น 
7) คู่แข่งในสายอาชีพมีมากกว่าอาชีพอื่น ๆ (ที่ทำมาหากินน้อยกว่าอาชีพอื่น) 
8) ชีวิตเร่งรีบเพราะเวลาเป็นเงินเป็นทอง 
9) ลืมดูแลตัวเอง มีแพทย์ไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตเพราะมะเร็ง พาร์กินสัน ฯลฯ 

แนวโน้มความต้องการอาชีพในอนาคต

ความต้องการผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ  เพราะนอกจากจะประกอบธุรกิจส่วนตัวแล้ว สถานประกอบกิจการภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ และผู้ประกอบกิจการด้าน ปศุสัตว์ ล้วนแต่ต้องพึ่งสัตวแพทย์ในการดูแล และตรวจรักษาทั้งสิ้น  ถ้าปีใดเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวลดลงจะมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานในอาชีพนี้บ้าง ปัจจุบัน ประเทศไทยรณรงค์ด้านการสงวนพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ   กระทิง จึงมีสัตวแพทย์ประจำโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าที่พลัดหลง หรือบาดเจ็บ ส่วนผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์นั้นมีเพิ่มขึ้นเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นจะต้องทำให้สินค้ามีคุณภาพและปลอดจากโรค ความต้องการสัตว์แพทย์จึงยังคงมีอยู่และอาจเพิ่มมากขึ้น ถ้าการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น
          อย่างไรก็ตาม มีผู้นิยมเลี้ยงสัตว์ในบ้านเรือนส่วนบุคคลมากขึ้น ความต้องการสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลหรือคลินิก อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกทั้งโอกาสในการประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เพราะผู้เลี้ยงสัตว์มักนำสัตว์เลี้ยงของตนไปคลีนิกมากขึ้น  เนื่องจากต้องการความสะดวกรวดเร็วในการตรวจและรักษา     สัตว์เลี้ยง

คุณค่าของอาชีพต่อการพัฒนาสังคม


ค่าตอบแทนจากการทำงานของสัตวแพทย์ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกก็จะเป็นเงินเดือนตามระดับวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน ซึ่งก็อาจจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ตามระยะเวลาการเข้าเวร เช่น ค่าโอที นอกจากเงินเดือนแล้วถ้าทำงานในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น  ค่ารักษาพยาบาล   เงินสะสม  เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ  เงินโบนัส  เป็นต้น
คุณค่าของอาชีพนี้ก็จะอยู่ที่การที่เราได้รักษาสัตว์ให้หาย เพราะเดี๋ยวนี้คนเราเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว บางคนรักเหมือนลูก เวลาสัตว์เลี้ยงเขาป่วย เขาก็กังวล เป็นทุกข์ เวลาเราทำให้มันหายป่วย เจ้าของก็หมดทุกข์ มีความสุข ตรงนี้แหละคือสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดของการเป็นสัตวแพทย์
นอกจากนี้ ชีวิตของคนทั่วไปหนึ่งวัน ก็เกี่ยวข้องกับสัตวแพทย์มากโดยที่ทุกคนไม่รู้ เพราะอย่างน้อยๆ เนื้อสัตว์ที่กินเข้าไป ทุกอย่างทั้ง หมู ไก่ วัว ไข่ ฯลฯ อยู่ในการดูแลของสัตวแพทย์หมด สัตวแพทย์ที่เขาควบคุมฟาร์มเขาก็เป็นคนที่ต้องควบคุมสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้มันมีมาตรฐานพอที่จะเอามาขายให้คนกินได้ ดังนั้นอาชีพนี้มันมีส่วนสำคัญกับสังคมเยอะ แต่เป็นสิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็น
ส่วนผลเสียที่มีต่อตัวผู้ประกอบอาชีพ ก็คงเหมือนกับแพทย์ทุกสาย คือเรื่องเวลา เวลาเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีนักสำหรับคนที่เป็นแพทย์ ตัวอย่างเช่น บางทีคลินิกปิดสองทุ่ม แต่มีเคสฉุกเฉินมาก็ต้องอยู่ หรือบางครั้งวันหยุด แต่ดันมีเคสฉุกเฉินจำเป็นที่ต้องเข้ามาผ่าตัด ก็ต้องไป มันก็จะเป็นเรื่องของการยอมเสียสละเวลา

० รายชื่อสมาชิก ०

เด็กหญิง ฐิติยาภรณ์  ศรีสุนทร ม.2/2 เลขที่17
เด็กหญิง ฐิติรัตน์  ฐิติเมธาพร  ม.2/2 เลขที่18
เด็กหญิง ธนันท์ชนก  ภูริพงศ์ชนะกิจ  ม.2/2 เลขที่22

เด็กหญิง ศิริลักษณ์  สนจุ้ย ม.2/2 เลขที่36







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น